เศรษฐกิจพอเพียง

 เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาปราชญ์ที่คนไทยควรต้องรู้จัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

"เศรษฐกิจพอเพียง" (Sufficiency Economy) เป็น "ปรัชญา" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เพื่อชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิต และปฏิบัติตนให้แก่ประชาชนทุกระดับทุกสาขาวิชาชีพมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา โดยพระองค์ทรงห่วงใยต่อสถานการณ์และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตอยู่ของคนไทย และสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ จนกระทั่งเข้าสู่ห้วงเวลา ที่ประเทศประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ในปี พ.ศ. 2540 และภายหลังจากปัญหาวิกฤต พระองค์พระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้ กระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทรงเตือนทุกฝ่ายให้รู้จักคำว่า "พอเพียง" อย่าทำอะไรเกินตัว ทำอะไรต้องควรรอบคอบไม่ ประมาท ดำรงชีวิตอย่างสมถะและสามัคคี ซึ่งจะนำพาตนเอง และประเทศชาติให้รอดพ้นภาวะวิกฤตต่างๆและนำไปสู่ความสุขได้ "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิถีไทยทั้งในด้านการพัฒนา และการบริหาร ให้ดำเนิน ไปบน "ทางสายกลาง" โดยผู้ปฏิบัติจะต้องมีคุณลักษณะที่เป็นฐานรากคือ มีความรู้ทั้งในด้านความรอบรู้ รอบคอบและความ ระมัดระวัง และเป็นคนดีมีคุณธรรม ได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต การมีสติปัญญาและความเพียร โดยมีวิธีปฏิบัติที่สำคัญ 3ประการ คือความพอประมาณ การมีเหตุผลและการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวเอง ซึ่งนำไปสู่เป้าหมายเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ ได้อย่างมั่นคง รอดพ้นจากวิกฤตและรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สำหรับแนวพระราชดำริของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริครั้งแรก ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 และต่อมาทรงอธิบายและเน้นย้ำอีกหลายครั้ง 

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายใน เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงเน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง คือ ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขายโดยการส่งเสริม:

1.การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสานเพื่อให้เกษตรกรพัฒนาตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง

2.การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย

3.การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย)เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบำรุงดิน

4.การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา

5.การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน

6.การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย

7.การเลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม

8.การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ 10-15 ตัวต่อครัวเรือนเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษอาหาร รำ และปลายข้าวจากผลผลิตการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตวจากการปลูกพืชไร่ เป็นต้น

 9.การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์


ที่มา: https://www.saeafrica.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B/

https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Welcome to my blog

  Welcome to my blog (ยินดีต้อนรับครับ) ในบล็อกนี้ทุกท่านที่เข้ามาชมจะได้รู้จัก ยอดนักสืบในประวัติศาสตร์ ที่มีความสามารถ ฉลาดหลักแหลม ไขคดี...